วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.ย. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
แผนช่วยเหลือ/อพยพคนไทยในกรีซ กรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ปัจจัยบ่งชี้ เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงกะทันหันไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ปัจจัยควบคุม รัฐบาลท้องถิ่นให้ความร่วมมือเต็มที่ อาจมีการประกาศสภาวะฉุกเฉิน
เป้าหมาย อพยพคนไทยที่ประสบภัยพิบัติออกนอกพื้นที่ไปยังที่พักพิงชั่วคราว หรือกลับ
ประเทศไทย
รายการ |
การดำเนินการ |
หมายเหตุ |
สอท./สกญ. ตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือคนไทย (24 ชั่วโมง) เพื่อติดต่อกับกระทรวงฯ และรับแจ้งกับคนไทยในพื้นที่ |
ในการตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือคนไทย สอท.ฯ จะใช้พื้นที่ของ สอท.ฯ เป็นศูนย์ฯ ในกรณีที่พื้นที่ของ สอท.ฯ ไม่อยู่ในภาวะวิสัยที่จะใช้การได้ อาจพิจารณาใช้ ทำเนียบ ออท. เป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือคนไทยตลอด 24 ชั่วโมง |
หมายเลขโทรศัพท์สายด่วนของ สอท.ฯ คือ +30 6944 532916 / +30 6948009969 |
รายงานสถานการณ์ให้กระทรวงฯ ทราบ พร้อมประเมินความเสียหายเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้นแก่คนไทย อาทิ มีผู้ได้รับผลกระทบกี่คน บาดเจ็บ/เสียชีวิต กี่คน |
ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินสถานการณ์ความเสียหาย และรายงานให้กระทรวงฯ ทราบ เป็นระยะ |
|
ประสานกับรัฐบาลท้องถิ่น/องค์กรสาธารณประโยชน์เกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย สิ่งบรรเทาทุกข์ที่รัฐบาลท้องถิ่นจัดหาให้แก่ผู้ประสบภัย (โดยเฉพาะกรณีที่คนไทยที่อยู่อย่างผิดกฎหมาย) |
จัดทำรายชื่อหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องของกรีซที่จำเป็นต้องมีการติดต่อในยามฉุกเฉิน อาทิ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล และสายการบิน |
รายชื่อหน่วยงานท้องถิ่นปรากฏตามเอกสารแนบ |
หารือ สอท./สกญ. มิตรประเทศเกี่ยวกับความช่วยเหลือคนชาติตน |
ประสานกับ สอท.ฯ ต่างๆ/กรุงเอเธนส์ และหารือกับ สอท.อาเซียน/กรุงเอเธนส์ เพื่อขอความช่วยเหลือคนไทยที่ประสบภัยพิบัติในกรีณที่จำเป็น |
|
ประสานรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปประสานงานในพื้นที่ (หากได้รับอนุญาตจากทางการท้องถิ่น) |
จัดทำรายชื่อหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อประสานการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปประสานงานในพื้นที่ |
|
สอท./สกญ. พิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยอาศัยระเบียบ ก.คลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2549 ข้อ 11 (1) และแจ้งกระทรวงฯ เพื่อพิจารณางบประมาณสนับสนุน |
ประเมินงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือคนไทยและแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้กระทรวงฯ ทราบในโอกาสแรก |
|
หากจําเป็นอาจตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยอาจเป็นที่สอท./สกญ. วัดไทย หรือสถานที่อื่นที่เหมาะสม |
กรณีเกิดเหตุภัยพิบัติที่กรุงเอเธนส์ อาจพิจารณาตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวที่เมืองลาเมีย หากเกิดภัยพิบัติที่เมืองลาเมียอาจพิจารณาจัดตั้งศูนย์พักพิงที่เมือง Thessaloniki หรือที่กรุงเอเธนส์ หากเกิดภัยพิบัติตามเกาะต่างๆ อาจพิจารณาจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวที่กรุงเอเธนส์ |
|
กรณีภัยพิบัติเกิดขึ้นต่างเมือง อาจใช้ประโยชน์จากกงสุลกิตติมศักดิ์ และชุมชนไทยในพื้นที่เป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือ และ/หรือประสานรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปประสานงานในพื้นที่ |
หากภัยพิบัติเกิดตามเกาะหรือเมืองต่าง ๆ ของกรีซ สอท.ฯ จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเยี่ยมคนไทยที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้ความช่วยเหลือตามที่กระทำได้ และขอความร่วมมือให้ผู้ประสบภัยพักอาศัยตามบ้านพักคนไทยที่มีจิตอาสา และมีพื้นที่เพียงพอเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว และ สอท.ฯ จะประเมินค่าใช้จ่ายในการตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราว เพื่อขออนุมัติกระทรวงฯ ในโอกาสแรก |
|
จัดทําทะเบียนคนไทยที่ประสบภัยพิบัติ/ผู้เจ็บป่วย/เสียชีวิต พร้อมชื่อญาติที่ประเทศไทย (หากทราบ) |
สอท.ฯ มอบหมายเจ้าหน้าที่จัดทำรายการทะเบียนคนไทยโดยประสานหน่วยงานท้องถิ่น |
|
กระทรวงฯ ส่ง จนท. กงสุล/แพทย์ สนับสนุน (หากจําเป็น) |
ในกรณีที่เหตุการณ์รุนแรงและหน่วยงานท้องถิ่นไม่อยู่ในสภาวะที่จะให้ความช่วยเหลือคนไทยได้ สอท.ฯ จะประสานขอกำลังแพทย์และเวชภัณฑ์ รวมทั้งสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอื่นๆ จากประเทศไทยผ่านกระทรวงฯ
|
|
หารือกระทรวงฯ ถึงความจําเป็นในการอพยพคนไทยกลับประเทศ (อาจอ้างอิงแผนอพยพฯ กรณีเกิดภัยสงคราม) |
สอท.ฯ จะประเมินสถานการณ์และความจำเป็นในการอพยพคนไทยกลับไทย โดยจะประสานกับกระทรวงฯ ถึงความจำเป็นในการอพยพคนไทยโดยเครื่องบินพิเศษจากไทย เพื่ออพยพคนไทยออกนอกประเทศตามความเหมาะสมของสถานการณ์และความพร้อมของยานพาหนะ |
|
หมายเหตุ อาจใช้แผนการเตรียมความพร้อม 4 ระดับ ของแผนช่วยเหลือ/อพยพในกรณีภัยสงครามประกอบด้วย
เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 09.00 - 13.00 น. และ 14.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)